จดทะเบียนสถานประกอบการผลิต/นำเข้า เครื่องมือแพทย์
29 มีนาคม 2566

จดทะเบียนสถานประกอบการผลิต/นำเข้า เครื่องมือแพทย์

 

ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์

ผู้ผลิต หมายถึง บุคคล หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนการค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และมีความประสงค์ต้องการดำเนินการ

- ผลิต ทำ ประกอบ หรือประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์

- แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุเครื่องมือแพทย์

- ปรับปรุง แปรสภาพ หรือดัดแปลงเครื่องมือแพทย์

- ทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์

ผู้นำเข้า หมายถึง บุคคล หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนการค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และมีความประสงค์ต้องการประกอบกิจการค้า การนำเข้า หรือสั่งเครื่องมือแพทย์เข้ามาในราชอาณาจักร

 

เปิดสิทธิ์การยื่นเข้าใช้งานระบบ ออนไลน์ของงานจดทะเบียนสถานประกอบการเครื่องมือแพทย์

เพื่อยื่น 1. คำขอจดทะเบียนสถานประกอบการ (รายใหม่) แบบ ส.น.1 , แบบ ส.ผ.1

2.คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบจดทะเบียนสถานประกอบการ (รายเดิม) แบบ ส.น.3 , แบบ ส.ผ.3 , แบบ ส.น.4 , แบบ ส.ผ.4

3.คำขอต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการ (รายเดิม) แบบ ส.น.2 , แบบ ส.ผ.2 (เปิดสิทธิ์ล่วงหน้าได้ แต่เข้าระบบไปต่ออายุได้วันที่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค ของปีที่ใบสิ้นอายุ)

4.คำขอใบแทนใบจดทะเบียนสถานประกอบการ (รายเดิม) แบบ ส.น.5 , แบบ ส.ผ.5

แบบฟอร์มการเปิดสิทธิ์

 

 

ลำดับ

ชื่อเอกสาร

รหัสเอกสาร

วันที่เผยแพร่

ดาวน์โหลด

1

หนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ 

เฉพาะกรณี

    1. จดรายใหม่

    2. เปลี่ยนผู้ดำเนินกิจการ

    3. ต่ออายุ

*กรณีบุคคลธรรมดาต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการเช่นเดียวกัน 

** โดยท่านจะต้องสแกนเพื่อใช้แนบในระบบ โดยเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ PDF

หมายเหตุ 

   1. ติดอากรแสตมป์ 30 บาท (มอบอำนาจ 1 ปี)

   2. กรณีบุคคลต่างชาติเป็นผู้ดำเนินกิจการจะต้องส่งสำเนาหนังสือเดินทาง (passport) และสำเนาหนังสือรับรองการทำงาน (work permit) เพื่อใช้ประกอบการทำฐานข้อมูลในระบบ

   3. สำเนาหนังสือรับรองการทำงาน (work permit) ของผู้ดำเนินกิจการจะต้องมีชื่อนายจ้างเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัทที่จดทะเบียน

   4. กรณีผู้ดำเนินกิจการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทำการยื่นเอกสารด้วยตนเองกับเจ้าหน้าที่ให้แนบเฉพาะหนังสือมอบอำนาจผู้ดำเนินกิจการเท่านั้น

    5.สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับอำนาจอำนาจ (กรณีไม่ยื่นเอกสารด้วยตนเอง และกรณีส่งไปรษณีย์)

EST-F-IM-003

1/3/2567

doc 1.svgpdf.svg

2

หนังสือมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นคำขอ

  ก. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)

หมายเหตุ    1. ผู้มอบอำนาจ : แนบสำเนาบัตรประชาชน

              2. ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำขอ (ผู้ยื่นคำขอผ่านระบบ)

2.1 กรณียื่นเอกสารเปิดสิทธิ์ผู้ยื่นคำขอด้วยตนเองแสดงตนด้วยบัตรประชาชน หรือ application Thai ID

2.2 กรณีมอบให้บุคคลอื่นยื่นเอกสารแทนแนบสำเนาบัตรประชาชน

*ใช้เปิดสิทธิ์ skynet fda

E-SUB-V27-03-24

29/3/2567

doc 1.svgpdf.svg

3

หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว สำหรับกระบวนการยื่นคำขออนุญาตตามประราชบัญญัติ เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม
* (ทั้งผู้มอบ และ ผู้รับมอบ)

 

 

pdf.svg

4

ไม่ต้องแนบเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) กับเจ้าหน้าที่ แต่ต้องแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้มีข้อมูลดังต่อไปนี้

1.ที่อยู่สถานที่นำเข้า/ผลิต/ขายเครื่องมือแพทย์ ต้องถูกจดอยู่ในหนังสือรับรองบริษัท (กรณีจดที่อยู่ในรูปแบบสาขา (ไม่ใช่สำนักงานใหญ่ ให้แนบหลักฐานเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่)

2.มีวัตถุประสงค์ เช่น

กรณีผลิต :  ผลิตเครื่องมือแพทย์

กรณีนำเข้า/ใบอนุญาตขาย : ประกอบกิจการการค้าเครื่องมือแพทย์ หรือ นำเข้าเครื่องมือแพทย์

 

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดึงข้อมูลมาตรวจสอบ

 

 

 

5

ใบทะเบียนพาณิชย์ (เฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา)

 

 

 

6

เฉพาะกรณีรายเดิมสำเนาใบจดทะเบียนสถานประกอบ การครื่องมือแพทย์ฉบับปัจจุบัน (ครบทุกหน้า)

 

 

 

หมายเหตุ : ให้ผู้ประกอบการสแกนหรือถ่ายสำเนาเอกสารหนังสือมอบอำนาจพร้อมเอกสารประกอบ เพื่อใช้ในการยื่นคำขอในระบบ Skynet

 

ช่องทางการยื่นเปิดสิทธิ์

1.ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) อาคาร 8 ชั้น 4 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เบอร์โทรศัพท์ 0 2590 7000 ต่อ 79925 (รับบัตรคิวชั้น 3 และยื่นเอกสารชั้น 4) 

2.ส่งไปรษณีย์มาที่ ศูนย์รับเรื่องเข้า-ออกด้านการบริการผลิตภัณฑ์สุขภาพ (OSSC) - งานเปิดสิทธิ์ระบบเครื่องมือแพทย์

ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) อาคาร 8 ชั้น 4 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/24 ถนนติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

หมายเหตุ : ขอความร่วมมือส่ง ไปรษณีย์ไทย เท่านั้น (หลีกเลี่ยงใช้ขนส่งเอกชน)