ข้อมูลเบื้องต้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


การโฆษณาคืออะไร และใครที่จะต้องขออนุญาตโฆษณา

• การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและให้หมายความรวมถึงการส่งเสริมการขายด้วย

• ดังนั้นผู้ใดที่จะทำการโฆษณาต้องขออนุญาตโฆษณาก่อน

• โดยผู้ใดนั้น จะต้องเป็นผู้ที่จดทะเบียนบริษัทฯ (นิติบุคคล) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนการค้า/ใบทะเบียนพาณิชย์ จากกระทรวงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์ธุรกิจ เกี่ยวกับ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เครื่องมือแพทย์ หรือคำอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน

การขออนุญาตโฆษณา มี 2 แบบ คือ

1. การโฆษณาต่อประชาชน
2. การโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข


ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างการยื่นขอโฆษณา

ต่อประชาชน และผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข


ลักษณะ

โฆษณาต่อประชาชน

โฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพ



โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพ

โฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพ

วิธีการยื่นขออนุญาต

ยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet

- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นเปิดสิทธิ์ที่แบบฟอร์มใบมอบอำนาจ

- ศึกษาขั้นตอนการยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet ที่คู่มือการขออนุญาต

ยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet

- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นเปิดสิทธิ์ที่แบบฟอร์มใบมอบอำนาจ

- ศึกษาขั้นตอนการยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet ที่คู่มือการขออนุญาต

ยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet

- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นเปิดสิทธิ์ที่แบบฟอร์มใบมอบอำนาจ

- ศึกษาขั้นตอนการยื่นแจ้งผ่านระบบ Skynet ที่คู่มือการขออนุญาต

เนื้อหา

เข้าใจง่าย และเป็นไปตามคู่มือ

การยื่นขออนุญาตโฆษณา

(ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่คู่มือ

การยื่นขอโฆษณาเครื่องมือแพทย์)

- เฉพาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

- บริษัทรับรองเนื้อหาโฆษณาเอง

(ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ประกาศโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพ)

เฉพาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

สื่อโฆษณา

ไม่จำกัดสื่อในการโฆษณา

จำกัดสื่อเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพเท่านั้น

ไม่สามารถจำกัดการเข้าถึงได้อย่างชัดเจน

สื่อโฆษณาจะต้องไม่ปรากฎในสถานที่สาธารณะ เช่น บิลบอร์ด ตามทางด่วน/ตามแยกไฟจราจร ฯลฯ

ใบอนุญาต

มีใบอนุญาตโฆษณา (ฆพ)

ไม่มีใบอนุญาตโฆษณา

มีใบอนุญาตโฆษณา (ฆพ)

ค่าใช้จ่าย

ค่ายื่นเรื่อง 1,000 บาท/คำขอ

ค่าใบอนุญาต 2,000 บาท/คำขอ

-

ค่ายื่นเรื่อง 1,000 บาท/คำขอ

ค่าใบอนุญาต 2,000 บาท/คำขอ

ค่าใช้จ่ายกรณียื่นเรื่องเพื่อส่งประเมินเรื่องกับผู้เชี่ยวชาญ

ค่ายื่นเรื่อง 16,000 บาท/คำขอ

-

ค่ายื่นเรื่อง 16,000 บาท/คำขอ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


No.

ชื่อเอกสาร

link


กฎกระทรวงสาธารณสุข


1

กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2563

link.svg


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข


1

​กำหนดลักษณะการโฆษณาเครื่องมือแพทย์บางประการที่ไม่ต้องขออนุญาต พ.ศ. 2563

link.svg

2

โรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณา พ.ศ. 2556

link.svg


ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


1

​กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตการออกใบอนุญาต และอายุใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๔ 

link.svg

2

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2553 (ยกเลิก)

link.svg


ค่าประเมินผู้เชี่ยวชาญ


1

ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2564)

link.svg


บทกำหนดโทษ


1

บทกำหนดโทษ

link.svg





ต้องการโฆษณาสินค้าจะต้องทำอย่างไรบ้าง


1. พิจารณาว่าสินค้าที่ต้องการโฆษณาเป็นเครื่องมือแพทย์หรือไม่

2. เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการโฆษณา ได้ขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่

3. ออกแบบหน้าโฆษณาตามสื่อที่ต้องการจะลงโฆษณา

4. เตรียมเอกสารตามคู่มือการยื่นขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์

5. ยื่นขออนุญาตโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป หรือโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผ่านระบบ Skynet


หมายเหตุ : โปรดศึกษาคู่มือการขออนุญาตโฆษณาก่อนยื่นทุกครั้ง


ช่องทางการติดต่อ
ปรึกษาเบื้องต้นงานขออนุญาตโฆษณา เบอร์โทรศัพท์ 0 2590 7000 ต่อ 79917