งานเครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก Investigational device exemption (IDE)
งานเครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก Investigational device exemption (IDE)
งานเครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก Investigational device exemption (IDE)
งานเครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก Investigational device exemption (IDE)
บทบาท
- ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเครื่องมือแพทย์ทางคลินิกในประเทศไทยให้สอดคล้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และมาตรฐานสากล เพื่อให้ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
- กำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก ให้มีสมรรถนะการทำงานและความปลอดภัยเพียงพอที่จะนำไปใช้ในอาสาสมัคร
- กำกับดูแลผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก ผู้สนับสนุนการวิจัย และผู้วิจัย ให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 14155:2020 หรือ ISO 20916:2019 แล้วแต่กรณี
- พิจารณาการยอมรับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
หน้าที่
- หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยเครื่องมือแพทย์ทางคลินิก
1.1 พิจารณาคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก
1.2 พิจารณาคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงในหนังสืออนุญาตการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก
1.3 รับรายงานข้อมูลต่าง ๆ หลังได้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแล้ว
i. การรายงานอาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงจากการใช้เครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก (serious adverse device effect) และอาการอันไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงจากการใช้เครื่องมือแพทย์วิจัยทางคลินิก (device deficiency with SADE potential)
ii. การรายงานข้อมูลความปลอดภัยประจำปี
iii. การรายงานข้อมูลความปลอดภัยเมื่อยุติหรือสิ้นสุดการวิจัย
iv. การส่งรายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์
v. การส่งรายงานการดำเนินการกับเครื่องมือแพทย์ที่เหลืออยู่
1.4 รับแจ้งข้อมูลต่าง ๆ หลังได้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแล้ว
i. การแจ้งเริ่มดำเนินการวิจัยทางคลินิก
ii. การแจ้งยุติการวิจัยทางคลินิกก่อนกำหนดเวลาหรือถูกระงับการวิจัยทางคลินิก
iii. การแจ้งสิ้นสุดการวิจัยทางคลินิก
1.5 ยกเลิกใบอนุญาต การเรียกเก็บ การระงับชั่วคราว การสั่งให้แก้ไขปรับปรุง
1.6 พิจารณาคำขออนุญาตกลับมาดำเนินการวิจัยต่อ หลังแจ้งยุติการวิจัยทางคลินิกก่อนกำหนดเวลาหรือถูกระงับการวิจัยทางคลินิก
1.7 ตรวจติดตามผู้สนับสนุนการวิจัย และสถานที่วิจัยว่าปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้เครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก - หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
1. พิจารณาคำขอการยอมรับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
2. พิจารณาคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
3. ต่ออายุการยอมรับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
4. รับรายงานผลการดำเนินงาน หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
5. ตรวจติดตามคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ว่าปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยอมรับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์