ผู้ขายเครื่องมือแพทย์รายใหม่

ขั้นตอนที่ 1. พิจารณาว่าเครื่องมือแพทย์ที่ท่านต้องการขาย จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์หรือไม่ โดยท่านสามารถดูรายการเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขอใบอนุญาตขายได้จาก "เครื่องมือแพทย์ที่ต้องขอใบอนุญาตขาย" หรือท่านสามารถดูรายการเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาตขายได้จากตารางด้านล่าง


หมายเหตุ: หากท่านเป็นผู้ผลิต/ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตขาย ให้ถือว่าเป็นผู้รับอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ที่ท่านผลิตหรือนำเข้า โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตขาย


เครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาตขาย

1. ชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี ประเภทเพื่อการวินิจฉัยภายนอกร่างกายยกเว้นชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-testing)

2. ถุงบรรจุโลหิตมนุษย์

3. ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติหนืดสําหรับใช้ในกระบวนการผ่าตัดตา

4. ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน

5. เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย

6. กรดไฮยาลูโรนิกชนิดฉีดเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผิวหนัง

7. รากฟันเทียม (Dental implant)

8. แบรคเก็ตจัดฟัน (Orthodontic brackets or braces)

9. ยางจัดฟัน (Orthodontic elastic)

10. ลวดจัดฟัน (Orthodontic wire)

11. วงแหวนครอบฟัน (Orthodontic Bands)

12. เครื่องมือจัดฟันชนิดใส (Clear Dental Aligner)

13. กรดกัดฟัน (Etching)

14. วัสดุอุดฟัน (Dental filling material)

15. สารยึดติดฟัน (Deดntal bonding agent or Cementing agent) ยกเว้นกาวติดฟันปลอม

16. วัสดุพิมพ์ฟันทางทันตกรรม (Impression material for dental)

17. แผงฟันเทียม (Artificial teeth)

18. ฟลูออไรด์วานิช (Fluoride Varnish)

19. เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive Airway Pressure:PAP)


ในขั้นตอนนี้หากผลลัพธ์ได้เป็น:

ผลลัพธ์

การดำเนินการ

ผลิตภัณฑ์ไม่อยู่ในรายการต้องขอใบอนุญาตขาย

สามารถขายเครื่องมือแพทย์ในตลาดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตขาย

ผลิตภัณฑ์อยู่ในรายกายที่ต้องขอใบอนุญาตขาย

ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2.


ขั้นตอนที่ 2. ยื่นคำขอใบอนุญาตขาย โดยท่านสามารถดำเนินการได้ตามนี้:


2.1 หากสถานที่ขาย คือ พื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ให้ขออนุญาตกับทาง อย. ผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

- การเปิดสิทธิ์ใบอนุญาตขาย (รายละเอียด และแบบฟอร์มการเปิดสิทธิ์)

ขั้นตอนการยื่น

คู่มือระบบ e-Submission คำขอใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ เฉพาะสถานที่ขายพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง


2.2 หากสถานที่ขาย คือ พื้นที่ต่างจังหวัดนอกเหนือจากกรุงเทพมหานครฯ ให้ดำเนินการขออนุญาตกับทางสสจ.

คู่มือ คำขอใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ เฉพาะสถานที่ขายพื้นที่ ต่างจังหวัด

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง


เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตขายแล้ว จึงจะสามารถขายเครื่องมือแพทย์ที่อยู่ในรายการได้ อย่างไรก็ตามเครื่องมือแพทย์บางรายการมีข้อกำหนดในการขายเฉพาะแก่สถานพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และสาธารณสุข ซึ่งท่านสามารถศึกษารายการ และข้อกำหนดได้ผ่านช่องทางนี้

     - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องขายเฉพาะแก่สถานพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และสาธารณสุข พ.ศ. 2563

 

ขั้นตอนที่ 3. เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตขาย ท่านจำเป็นต้องรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ที่ท่านขายตามกฎหมาย โดยท่านสามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้

ส่งรายงานการขายประจำปี

ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตขาย

เลิกกิจการ/ ไม่ต่ออายุ


นอกจากนี้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายจะต้องควบคุม และดูแลการประกอบกิจการขายให้มีระบบคุณภาพ ตามประกาศกระทรวงฯ โดยท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ดังนี้:

- ระบบคุณภาพการนำเข้าหรือขายเครื่องมือแพทย์

- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบคุณภาพการนำเข้าหรือขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2566


ทั้งนี้ หากท่านประสงค์โฆษณาเครื่องมือแพทย์ ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4.


ขั้นตอนที่ 4. หากท่านต้องการโฆษณาเครื่องมือแพทย์

การโฆษณา หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและให้หมายความรวมถึงการส่งเสริมการขายด้วย

ผู้ใดที่จะทำการโฆษณาต้องขออนุญาตโฆษณาก่อน

การขออนุญาตโฆษณา มี 2 แบบ ซึ่งมีวิธีการยื่นคำขอแตกต่างกัน ได้แก่

1. การโฆษณาต่อประชาชน

2. การโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานโฆษณา


สามารถดู flowchart ของผู้ขายเพิ่มเติมได้ที่นี่
สามารถศึกษาสื่อการเรียนรู้ (คลิปวีดีโอ) สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ได้ ที่นี่