ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์รายใหม่


หมายเหตุ : ขั้นตอนดำเนินการ เช่น การขอรับคำวินิจฉัยประเภทของผลิตภัณฑ์, การจดทะเบียนสถานประกอบการ, การยื่นทะเบียนสำหรับขึ้นทะเบียน ฯลฯ เป็นการดำเนินการผ่านระบบอิเลกทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งานระบบ SKYNET สามารถศึกษาข้อมูล และขอรับสิทธิ์การใช้งานได้ผ่านที่อยู่ด้านล่างนี้

- ศึกษาข้อมูลได้ทาง: วิธีการเปิดสิทธิ์ใช้งานระบบ SKYNET

- ขอรับสิทธิ์การใช้งาน: SKYNET สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อได้รับสิทธิ์การใช้งานระบบ SKYNET แล้ว หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการรอเปิดสิทธิ์ใช้งาน ผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท่านได้ดังต่อไปนี้ 


ขั้นตอนที่ 1. พิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ของท่านจัดเป็น “เครื่องมือแพทย์” หรือไม่ โดยสามารถศึกษานิยามเครื่องมือแพทย์ได้จากมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และ แนวทางการพิจารณาผลิตภัณฑ์เบื้องต้น

ในกรณีที่ท่านไม่แน่ใจ หรือไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตจัดเป็นเครื่องมือแพทย์หรือไม่สามารถยื่นคำขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาข้อมูลได้ ดังนี้

   - ขั้นตอนการยื่นคำขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์

   - ยื่นคำขอวินิจฉัยกับทางอย. ผ่านทางระบบ SKYNET (สามารถอ่านคู่มือการยื่นคำขอได้ที่นี่)


ในขั้นตอนนี้หากผลลัพธ์ได้เป็น:

ผลลัพธ์

การดำเนินการ

ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่เครื่องมือแพทย์

ท่านไม่ต้องปฏิบัติตามพรบ. เครื่องมือแพทย์ 

(แต่อาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของท่าน)

ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือแพทย์

ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ 2.


ขั้นตอนที่ 2. พิจารณาว่าวัตถุประสงค์การนำเข้าเครื่องมือแพทย์ของท่านว่าเข้าข่ายเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 27 (ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยสามารถศึกษาได้จาก "คำขอยกเว้นตามมาตรา 27"


ในขั้นตอนนี้หากผลลัพธ์ได้เป็น:

ผลลัพธ์

การดำเนินการ

ผลิตภัณฑ์เข้าข่ายมาตรา 27

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ คำขอยกเว้นตามมาตรา 27

ผลิตภัณฑ์ไม่เข้าข่ายมาตรา 27

มีวัตถุประสงค์การนำเข้าเพื่อขาย หรือมีวัตถุประสงค์การนำเข้าในเชิงพาณิชย์ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ 3.


ขั้นตอนที่ 3. จดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า: ท่านจำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตให้เรียบร้อยก่อนจึงจะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ได้ โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ "งานสถานที่ผู้ประกอบการนำเข้ารายใหม่" โดยมีคู่มือการยื่นคำขอจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ ดังนี้


ชื่อคู่มือ

ดาวน์โหลดไฟล์

คู่มือระบบ e-Submission คำขอการจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์

คู่มือระบบ E-submission

คู่มือระบบ e-Submission คำขอการจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์

(สำหรับ: Software ที่เป็นเครื่องมือแพทย์)

คู่มือระบบ E-submission สำหรับ Software


ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจดทะเบียนสถานประกอบการ ประกอบด้วย

1. คำขอ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)

2. ค่าตรวจประเมิน 12,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)

3. ค่าใบ 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน)


ทั้งนี้ ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และจัดทำป้ายที่เกี่ยวข้องแสดง ณ สถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้: 


คุณสมบัติผู้ควบคุมการนำเข้า

รายละเอียดป้ายแสดง

1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี

2. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์จะต้องจัดให้มีป้ายแสดง ดังนี้

1. ป้ายสถานที่นำเข้าเครื่องมือแพทย์

2. ป้ายสถานที่เก็บรักษาเครื่องมือแพทย์

3. ป้ายแสดงชื่อและคุณวุฒิของผู้ควบคุม

 

โดยต้องแสดงป้ายทั้งหมดไว้ในที่เปิดเผย สามารถเห็นได้ง่าย


ท่านสามารถดูข้อกำหนดอื่น ๆ และลักษณะของป้ายได้ที่:

งานสถานที่ ผู้ควบคุมการผลิต/นำเข้า/ขาย เครื่องมือแพทย์

การจัดให้มีป้ายสถานที่


อ้างอิง:

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการผลิต นำเข้า หรือขาย และคุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ของผู้ควบคุม

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดให้มีป้ายแสดงชื่อและคุณวุฒิของผู้ควบคุมการผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2567

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดให้มีป้ายแสดงสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า สถานที่ขาย หรือสถานที่เก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2568


สามารถศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้จาก:

งานสถานที่ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์

ขั้นตอนการยื่นเอกสารจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์


หมายเหตุ : ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการประกอบกิจการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ให้เป็นไปตามระบบคุณภาพของการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก:

ระบบคุณภาพเครื่องมือแพทย์การนำเข้าหรือขายเครื่องมือแพทย์

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบคุณภาพการนำเข้าหรือขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2566


เมื่อได้ใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์เรียบร้อยแล้ว ให้ท่านดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ตามขั้นตอนที่ 4.



ขั้นตอนที่ 6. ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ตามประเภทความเสี่ยงของท่าน ผ่านระบบ SKYNET โดยเอกสารที่ต้องแนบสำหรับขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์แตกต่างกันขึ้นกับความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์ แสดงในตารางด้านล่าง


รายการเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ประเภทความเสี่ยงที่ 1

1. ฉลากเครื่องมือแพทย์

2. เอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์

3. ข้อกำหนดเฉพาะของเครื่องมือแพทย์ (Product Specification)

4. ลักษณะทั่วไป และหลักการทำงาน (Device Description and Features)

5. รายละเอียดและสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องมือแพทย์ (Material)

6. หนังสือรับรองความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ (Declaration of conformity)

7. เอกสารแสดงประวัติการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ (กรณีมีการขึ้นทะเบียนที่ต่างประเทศ) (ถ้ามี)

8. เอกสารแสดงการทดสอบความปราศจากเชื้อ (กรณีคมพ. ปราศจากเชื้อ)

9. เอกสารแสดงการทดสอบหรือการสอบเทียม (กรณีคมพ. ที่ใช้สำหรับการวัด)

10. เอกสารแสดงรายการเครื่องมือแพทย์ที่รวมกลุ่มและชี้แจ้งเหตุผล ของการรวมกลุ่มเครื่องมือแพทย์ (ถ้ามี)

11. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Letter of authorization)



รายการเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ประเภทความเสี่ยง 2-4

รูปแบบการขึ้นทะเบียน/ประเภทเครื่องมือแพทย์

Full pathway

Abridge pathway*

Reliance pathway**

แจ้งรายการละเอียด

(ประเภท 2-3)

อนุญาต

(ประเภท 4)

แจ้งรายการละเอียด

(ประเภท 2-3)

อนุญาต

(ประเภท 4)

1. ฉลากเครื่องมือแพทย์

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

2. เอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

3. บทสรุปเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

4. รายละเอียดเครื่องมือแพทย์

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

5. Essential principles

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

6. Summary verification & validation

check.png

check.png

-

-

check.png

7. เอกสารแสดงการวิเคราะห์ความเสี่ยง

check.png

check.png

-

-

check.png

8. Manufacturer Information

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

9. เอกสารแสดงวิธีการทำลาย การทำให้สิ้นสภาพ

(ถ้ามี)

(ถ้ามี)

-

-

(ถ้ามี)

10. หนังสือรับรองระบบคุณภาพ

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

11. หนังสือรับรองความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ (Declaration of conformity)

check.png

check.png

check.png

check.png

check.png

12. เอกสารชี้แจงรายการเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการจดทะเบียน แบบรวมกลุ่มเครื่องมือแพทย์

(ถ้ามี)

(ถ้ามี)

(ถ้ามี)

(ถ้ามี)

(ถ้ามี)

13. หนังสือรับรองวัตถุประสงค์การใช้ ข้อบ่งใช้ฯ

-

-

check.png

check.png

-

14. หนังสือรับรองแสดงประวัติการจำหน่าย

-

-

check.png

check.png

-

15. หนังสือแสดงรับรองแสดงความปลอดภัย

-

-

check.png

check.png

-

16. หลักฐานการอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ที่อย. รับรอง

-

-

check.png

check.png

-

17. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Letter of authorization)

-

-

check.png

check.png

-

18. เอกสาร Change notification ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน HSA (ถ้ามี)

-

-

-

-

check.png

19. หนังสือขอเข้าร่วมโครงการ Regulatory Reliance

-

-

-

-

check.png

20. หลักฐานการขึ้นทะเบียนในประเทศสิงคโปร์

-

-

-

-

check.png

21. หนังสือแสดงความยินยอม (Consent form)

-

-

-

-

check.png


*ศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์แบบ Abridged pathway ได้ที่นี่

**เอกสารสำหรับ Reliance Pathway สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Reliance Program ได้ที่: Reliance Program


อ้างอิง:

กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พ.ศ 2563

กฎกระทรวง การแจ้งรายการละเอียดและการออกใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2563

กฎกระทรวง การจดแจ้งและการออกใบรับจดแจ้งผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2563

ประกาศสำนักคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่ไม่ต้องแจ้งตามกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการขออนุญาต และการออกใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และการแจ้งรายการละเอียดและการออกใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2567

ช่องทางการยื่นเอกสารสำหรับขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขอใบอนุญาต และใบรับแจ้งรายการละเอียด


ท่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้:

แนวทางการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำขอในระบบ E-submission

แนวทางการจัดเตรียมเอกสารสำหรับเครื่องมือแพทย์ non-IVD

คู่มือแนวทางสำหรับขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ IVD

 

เมื่อเตรียมเอกสารสำหรับขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วให้ยื่นเอกสารผ่านทาง E-submission ด้วยระบบ SKYNET โดยท่านสามารถดำเนินการตามเอกสารคู่มือนี้:

คู่มือระบบ E-SUBMISSION


โดยท่านสามารถศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้จากตารางด้านล่างนี้: 

   หน่วย: (บาท)

รายการ

คำขอละ

ค่าตรวจสอบข้อมูล

ค่าประเมินเอกสารทางวิชาการ

ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน

(เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 2,3,4)

ค่าใบสำคัญ

รวม

เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 1

ใบรับจดแจ้งนำเข้าเครื่องมือแพทย์

500

600

-

2,000

3,100

เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 2,3

ใบรับแจ้งรายการละเอียดนำเข้าเครื่องมือแพทย์

1,000

-

38,000

10,000

49,000

เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 4

ใบรับอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์

1,000

-

53,000

20,000

74,000


อ้างอิง:

กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2563

- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2568


หมายเหตุ: ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสามารถติดต่อสอบถามได้ที่: ช่องทางติดต่อ

หรือศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์


*** เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ (ใบรับจดแจ้ง, ใบรับแจ้งรายการละเอียด, ใบอนุญาต) เรียบร้อยแล้ว
ท่านจึงจะสามารถนำเครื่องมือแพทย์ของท่านวางขายในตลาดได้ ***


หมายเหตุ: ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสามารถติดต่อสอบถามได้ที่: ช่องทางติดต่อ

หรือศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์


ขั้นตอนที่ 7. ผู้ประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์มีหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งท่านสามารถศึกษาหน้าที่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ที่:

- หน้าที่ของผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ งานกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด

- บันทึกและรายงานการผลิต/นำเข้า/ขาย

- รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

- ช่องทางร้องเรียน

- ระบบคุณภาพการนำเข้าหรือขายเครื่องมือแพทย์

นอกจากนี้หากใบรับอนุญาตใด ๆ ของท่านกำลังจะหมดอายุ (ทะเบียนเครื่องมือแพทย์/ใบจดทะเบียนสถานประกอบการมีอายุ 5 ปี) หากท่านประสงค์ที่จะดำเนินกิจการต่อ ท่านสามารถศึกษาวิธีการต่ออายุทะเบียนได้ที่: ต่ออายุ

หรือหากท่านประสงค์ที่จะเลิกกิจการ ท่านสามารถศึกษาได้ที่: เลิกกิจการ/ไม่ต่ออายุ

โดยไม่ว่าท่านจะต่ออายุ หรือเลิกกิจการ ท่านต้องดำเนินการก่อนที่ทะเบียนจะหมดอายุ

 

ทั้งนี้ หากท่านประสงค์โฆษณาเครื่องมือแพทย์ ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 6.


ขั้นตอนที่ 8. หากท่านต้องการโฆษณาเครื่องมือแพทย์

การโฆษณา หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและให้หมายความรวมถึงการส่งเสริมการขายด้วย

ผู้ใดที่จะทำการโฆษณาต้องขออนุญาตโฆษณาก่อน


    การขออนุญาตโฆษณา มี 2 แบบ ซึ่งมีวิธีการยื่นคำขอแตกต่างกัน ได้แก่

1. การโฆษณาต่อประชาชน

2. การโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุข


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานโฆษณา


สามารถดู flowchart ของผู้ผลิตเพิ่มเติมได้ที่นี่
สามารถศึกษาสื่อการเรียนรู้ (คลิปวีดีโอ) สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ได้ ที่นี่